Breaking News

นครปฐม    ผู้แทนต่างชาติที่เข้าร่วมประชุมรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ศึกษาดูงานภาคีเครือข่ายในชุมชนยายชา

นครปฐม    ผู้แทนต่างชาติที่เข้าร่วมประชุมรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ศึกษาดูงานภาคีเครือข่ายในชุมชนยายชา

เมื่อวันที่ 31   มกราคม   2562  ชุมชนยายชา  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  นายรัฐพล เตรียมวิชานนท์  ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นายแสวง หอมนาน ที่ปรึกษา สปสช. เขต 5 ราชบุรี และทีมงาน สปสช. ได้นำคณะผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2561 โดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในมพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์กรภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานพื้นที่กรณีตัวอย่าง (PMAC Field visit) ในพื้นที่เขต 5 ราชบุรี พาผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ กว่า 60 คน  ศึกษาดูงาน

4 หัวข้อ เรื่อง “ภาวะผู้นำชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชนยายชา  กรณีศึกษา การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน   โดยมี นายแพทย์ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม กล่าวต้อนรับ   และ,uร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในการต้อนรับ

พร้อมทีมผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ทีมเครือข่ายสุขภาพ  โรงพยาบาลสามพราน  รพ.สต.ยายชาและตัวแทนภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนในการศึกษาดูงาน  โดยมี นางวาสนา  กลิ่นพยอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา   ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวแนะนำสถานที่ ของชุมชนคนยายชาที่ได้เป็นตัวแทนของพื้นที่หนึ่งในประเทศไทยที่จะได้เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน เล่าเรื่องราวดีๆ

ที่มีสภาพผู้นำชุมชนที่มีสภาพทั้งในเมืองผสมกับความเป็นชนบท ที่มีความเปลี่ยนแปลงตามความเจริญ เข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ เริ่มต้นด้วยรำกะลา และรำวงเพลง ลอยกระทง  และพานั่งรถราง แยกเป็น  6 ฐานเรียนรู้ ซึ่งได้จัดคละกลุ่มผู้นำด้านสุขภาพจากนานาชาติ  จาก  ยุโรป แอฟฟิกา  เอเชีย จากทั่วโลก จำนวน 59 ราย  เข้าร่วมศึกษาดูงาน ฐานที่ 1 การเก็บเห็ด  ฐาน 2 การเลี้ยงเป็ด ฐาน 3 การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การทำนา และเกษตรอินทรี(ปลูกผัก ทำนา ไม่ใช้สารเคมี)

พร้อม นำปิ่นโตเปี่ยมสุขแบ่งกลุ่ม6 กลุ่มลงเยี่ยมชมกิจกรรมการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตามฐานกิจกรรมต่างๆ ตามกลุ่มในการศึกษาดูงานครั้งนี้และ มีการดูแลจัดการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุ  ที่เดิมเคยมีปัญหา เรื่องภาวะเจ็บป่วย บางคนถึงกับติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้งและอาจได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง หลายรายไม่สามารถเดิน ช่วยเหลือตัวเองได้

กลุ่มผู้นำผู้สูงอายุ มองว่าน่าจะช่วยกันก่อนเรื่อง กำลังใจในการดูแล ด้วยการจัด ปิ่นโตผู้เปี่ยมสุข เพื่อเปิดเรื่อง การเข้าไปเยี่ยมบ้านให้กำลังใจ ส่งสุขกันที่บ้าน และมีกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพกาย ชวนกันมาร่วมกิจกรรม โรงเรียนผู้สูงอายุ ชื่อ มาหา ‘ไร  ยายชา   เพื่อให้มาหา มาทำอะไรร่วมกัน และวางแผนส่งสุขให้กับผู้สูงอายุ ให้มาร่วมสร้างสุขด้วยกัน ลดภาวะซึมเศร้า

ไปร่วมกันสร้างจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ในทุกวันที่ 15  และนัดหมายอื่นๆ ซึ่งคณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมผู้สูงอายุตามบ้าน     รวมทั้ง การจัดสภาพแวดล้อมด้วยวิถีธรรมชาติ  ลดการใช้สารเคมี เพื่อลดการสะสมสารพิษ กระตุ้นให้ทุกครัวเรือนมาร่วมกันทำ ปรับเปลี่ยนที่ของตัวเองในแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์  ไว้ใช้เพิ่มเรื่อง สารอาหารในชุมชน

ทางด้านนายรัฐพล  เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชน มาจากหลายภาคส่วนที่ร่วมดำเนินการร่วมกัน ส่วนหนึ่งมาจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ยายชา หรือที่เรียกกันว่า “กองทุนสุขภาพ สปสช.ตำบลยายชา ที่มีนายก อบต. (นางวาสนา กลิ่นพะยอม) เป็นประธานคณะกรรมการกองทุน

ตัวแทนโรงพยาบาลสามพราน  ตัวแทนรพ.สต. ตัวแทนหมู่บ้านชุมชนจากทุกหมู่  และตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดูแลส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ไปพร้อมๆ กับภารกิจของ โรงพยาบาล หน่วยบริการ รพ.สต.ในพื้นที่ ทั้งนี้ โรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นประเด็นสำคัญที่ตำบลให้ความสนใจ ถือว่าต้องรีบพัฒนา และป้องกัน  อย่างเช่น ตำบลยายชานี้

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สร้างสรรค์ด้วยการมีกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุดูแลในกลุ่มคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปที่แข็งแรง และกลุ่มที่ป่วยติดบ้าน ติดเตียงก็ร่วมดูแลด้วย  แคร์กีฟเวอร์ ผู้สูงอายุที่แข็งแรงร่วมกับการวางแผนฟื้นฟู จิตอาสา และร่วมกันฟื้นฟู  กายภาพบำบัดที่บ้าน  โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ยายชา และทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสามพราน ในการรับส่งต่อดูแลกันในทุกบ้านอีกด้วย

คลิก>>>  https://youtu.be/G49WHxKp-FA

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น